วรรณกรรมท้องถิ่น วรรณกรรมไทย วรรณกรรมพื้นบ้าน เรื่องเล่านวนิยายจากทั่วโลก

บอกเล่าเรื่องราว วรรณกรรมไทย วรรณกรรมท้องถิ่น วรรณกรรมพื้นบ้าน และวรรณกรรมปัจจุบัน นวนิยายจากนักเขียนชื่อดังทั่วโลก

ทำความรู้จักศิลาจารึกของประเทศไทย

ทำความรู้จักศิลาจารึกของประเทศไทย

เรื่องเกี่ยวกับหลักศิลาจารึกของไทยที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ในสมัยนั้นๆ ให้กับคนรุ่นหลังให้รับรู้ในเวลาต่อมา เป็นสิ่งที่ทุกคนร่ำเรียนกันตั้งแต่เด็ก ซึ่งในประเทศไทยเราก็มีศิลาจารึกอยู่มากมาย หลายสถานที่ ดังนั้นสำหรับใครที่สงสัยและอยากทำความรู้จักศิลาจารึกของไทยให้มากขึ้นกว่า ไม่ได้มีแค่ของพ่อขุนรามคำแหงเท่านั้น

รู้จักศิลาจารึกของไทย

ศิลาจารึกจักเป็นหลักฐานสำคัญที่ให้ความรู้ทั้งทางภาษา ตัวอักษร แสดงถึงวัฒนธรรมชนชาติของผู้ที่จารึก ซึ่งไทยเราพบศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ที่เมืองเก่าสุโขทัย โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เมื่อครั้งเสด็จออกผนวช เป็นศิลาจารึกลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ทรงสลักไว้เมื่อปี พ.ศ. 1835 บอกเล่าเรื่องราวที่กล่าวถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในสมัยสุโขทัย

ศิลาจารึกสุโขทัยที่ถูกสลักไว้นั้นเมื่อนำมาแปลแล้วมีจำนวนทั้งสิ้น 15 หลัก ปัจจุบันได้จำแนกตามลักษณะของตัวอักษรออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่

– จารึกที่ใช้อักษรขอมสุโขทัย

–  จารึกที่ใช้อักษรไทยสุโขทัย

– จารึกที่ใช้อักษรขอมขึ้นต้น และต่อด้วยอักษรไทยสุโขทัย

– จารึกที่ใช้อักษรไทยขึ้นต้น และต่อด้วยอักษรขอมสุโขทัย

–  จารึกที่ใช้อักษรไทยสุโขทัยขึ้นต้น และต่อด้วยอักษรธรรมล้านนา

ตัวอย่างศิลาจารึกที่พบในประเทศไทย

  1. ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

เป็นศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่สร้างจากหินทรายแป้ง กว้างด้านละ 35 ซม. สูง 111 ซม. เป็นหลักสี่เหลี่ยมด้านเท่าทรงยอ หรือทรงกระโจม การจารึกเป็นแบบอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย หลังจากที่พบในปี พ.ศ. 2476 รัชกาลที่ 4 ได้ทรงนำนักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์มาทำวิจัยพิสูจน์ศิลาจารึกจนได้ผลสรุปในเวลาต่อมา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

  1. ศิลาจารึกวัดศรีชุม

เป็นศิลาจารึกหลักที่ 2 ที่สร้างจากหินดินดาน กว้างด้านละ 67 ซม. สูง 275 ซม. ความหนา 8 ซม. เป็นรูปใบเสมา โดยจารึกเป็นแบบอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย ถูกพบในปี พ.ศ.2430 โดยนายพลโท พระยาสโมสรสรรพการ ที่อุโมงค์วัดศรีชุม เมืองเก่าสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

  1. ศิลาจารึกวัดอโสการาม

เป็นศิลาจารึกหลักที่ 93 ที่สร้างจากหินแปร กว้างด้านละ 54 ซม.  สูง 134 ซม. ความหนา 15 ซม. เป็นรูปใบเสมา ด้านที่ 1 มีการจารึกเป็นแบบอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย ด้านที่ 2 มีการจารึกเป็นแบบอักษรขอมสุโขทัย ภาษาบาลี ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2498 โดยกองโบราณคดี กรมศิลปากร ที่วัดอโสการาม เมืองเก่าสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติพระนคร

นอกจากนี้ยังมีศิลาจารึกบูรพาราม ศิลาจารึกวัดป่าม่วง ศิลาจารึกนครชุม และอื่นๆ อีกมากมาย ที่ล้วนแล้วแต่เป็นหลักฐานที่สำคัญในด้านต่างๆ ของประเทศไทย สมัยสุโขทัย

Comments are closed.