
งานศิลปะนั้นมีหลากหลายแขนง ไม่ได้มีแต่การวาดเขียนหรืองานประติมากรรมอย่างที่หลายคนเข้าใจ การเขียนหนังสือก็เป็นศิลปะอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ถ้าเป็นงานศิลป์ในเชิงงานเขียนเราจะเรียกว่า “วรรณศิลป์” สามารถขยายความให้เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือ การมีศิลปะในการเรียบเรียงถ้อยคำให้สละสลวยและมีจุดมุ่งหมายบางอย่างที่สะเทือนถึงอารมณ์ของผู้เสพ เช่นเดียวกันกับศิลปะในรูปแบบอื่นๆ นั่นเอง องค์ประกอบของวรรณศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะแบบใดก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยให้เราได้เรียนรู้เหมือนกันหมด ยิ่งมีมากก็ยิ่งเอาไปต่อยอดได้มาก มันเป็นคุณลักษณะสำคัญของงานศิลปะที่ทำให้ศิลปินสร้างเส้นทางของตัวเองได้อย่างหลากหลาย ถึงบางครั้งเราจะรู้สึกว่ามีบางคนที่มีแนวทางของผลงานคล้ายๆ กัน แต่ถ้าดูดีๆ ก็จะพบว่ามันต่างกันอย่างสิ้นเชิงทีเดียว วรรณศิลป์เองก็มีรายละเอียดปลีกย่อยที่ว่านี้ด้วย มีทั้งหมด 6 องค์ประกอบ ดังต่อไปนี้ อารมณ์สะเทือนใจ ความสะเทือนใจในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความเศร้าโศกแต่อย่างใด แต่มันหมายความว่างานเขียนนั้นผู้อ่านจะต้องสัมผัสได้ถึงความรู้สึกบางอย่าง เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ขัน เป็นต้น ความคิดและจินตนาการ นี่น่าจะเป็นแก่นสำคัญของงานวรรณศิลป์เลยทีเดียว เรื่องที่สมบูรณ์แบบจะต้องมีความสมดุลระหว่างแนวความคิดกับจินตนาการ จะเทน้ำหนักไปทางใดทางหนึ่งเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่สามารถชูจุดเด่นเฉพาะด้านได้ เช่น เป็นเรื่องที่เน้นจินตนาการแล้วเสริมแนวความคิดเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้น การสื่อสารกับผู้อ่าน ต่อให้เนื้อเรื่องดี สำนวนเด่นสักแค่ไหน แต่ถ้าผู้อ่านไม่อาจเข้าใจได้ก็ไร้ประโยชน์ หรือถ้าการสื่อสารนั้นทำให้ความเข้าใจผิดเพี้ยนไปจากความตั้งใจของผู้เขียน ก็จะส่งผลกระทบการอารมณ์ของผู้อ่านด้วย จุดนี้จึงต้องให้ความใส่ใจอย่างมาก จะมีช่องว่างระหว่างผู้เขียนและผู้อ่านไม่ได้เลย อัตลักษณ์ของผู้เขียน ข้อนี้เป็นส่ิงที่ต้องใช้เวลาในการสั่งสมไปเรื่อยๆ ผู้อ่านจะจับอัตลักษณ์ของผู้เขียนได้เอง และผู้เขียนก็ไม่สามารถเสแสร้งแกล้งทำหรือได้ ต่อให้คิดจะทำก็ทำได้เฉพาะช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น กลวิธีในการเขียน […]