
‘วรรณกรรมพื้นบ้าน’ คือ ผลงานการสร้างสรรค์ของมนุษย์ จัดเป็นงานศิลปะทางตัวอักษรประเภทหนึ่ง โดยเกิดขึ้นจากการใช้ภาษา, การพูด รวมทั้งการเขียนของกลุ่มชนในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น… วรรณกรรมพื้นบ้านภาคกลาง วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ วรรณกรรมพื้นบ้านภาคอีสาน วรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้ โดยในแต่ละท้องถิ่น ต่างก็จะใช้ภาษาพื้นบ้านในการถ่ายทอดที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง สำหรับวรรณกรรมนี้ เป็นเครื่องมือในการสื่อเรื่องราวทางด้านต่างๆ ในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น ประเพณี, วิถีชีวิต, สภาพเศรษฐกิจ, สังคม และค่านิยม รวมทั้งความเชื่อต่างๆ อันเป็นรากฐานของความคิดรวมทั้งพฤติกรรมของผู้คนในยุคปัจจุบัน วรรณกรรมทั้ง 4 ภาค ประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้… ใช้ภาษาท้องถิ่น – ในสมัยโบราณวัดจัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษา เพราะยังไม่มีโรงเรียนตั้งขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้นในเรื่องของอักษรในถิ่นในแต่ละภาคล้วนมีความแตกต่างกัน คำประพันธ์ท้องถิ่น – โดยวรรณกรรมทั้ง 4 ภาค จะมีลักษณะเป็นร้อยกรองจำนวนมาก มีลีลาสอดคล้องกับสำเนียงท้องถิ่น หากแต่อย่างไรก็ตามรูปแบบคำประพันธ์ที่ใช้ในการแต่งวรรณกรรม ก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละภาค การประพันธ์คล้ายกัน – เน้นทางศาสนาเป็นหลัก เช่น นิทานชาดกวรรณกรรมคำสอน โดยวรรณกรรมส่วนใหญ่จะมุ่งสอนในเรื่องจริยธรรมแก่ประชาชน ด้วยการยึดหลักธรรมทางพุทธศาสนาสอดคล้องไปกับการให้ความบันเทิงเพื่อทำให้เข้าใจง่าย นิทานได้รับความนิยมมาก – โดยนอกเหนือไปจากการเล่าสู่กันฟังแล้ว ก็ยังมีรูปแบบของละครพื้นบ้าน […]